ปอเป็นพืชเส้นใช้ชนิดหนึ่ง
ที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเกษตร
เมื่อนำเส้นใยจากส่วนเปลือกไปแช่ และฟอกแล้ว
จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นานัปการ และนำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละมากๆ |

ปอแก้ว |
ปอมีหลายชนิด
ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ ปอแก้ว ปอคิวบา และปอกระเจา
ปอแก้ว และปอคิวบา เป็นพืชอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกันกับฝ้าย คือ
อยู่ในวงศ์มัลวาซีอี สกุลไฮบิสคุส
แต่ปอคิบามีเส้นใยที่มีคุณภาพดีกว่าปอแก้ว |

ปอคิวบา |
ปอทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายคลึงกันมาก
แต่มีชื่อพื้นเมืองต่างกัน เพราะเรียกชื่อตามท้องถิ่นที่ปลูก
ปอแก้วมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น โรแซลล์ ปูซาเฮมพ์ และชันนี เป็นต้น
ปอแก้วนี้มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งใช้กลีบรองดอกทำเป็นอาหาร เรียกว่า "กระเจี๊ยบ"
อีกชนิดหนึ่งใช้เปลือกทำเป็นเส้นใย ปอคิวบาก็มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น
เคนัฟ บิมลิพาตัม เดคคานเฮมพ์ และเมสตา เป็นต้น |
ส่วนปอกระเจานั้นมี ๒ ชนิด คือ ปอกระเจาฝักยาว มีเส้นใยสีเหลืองอ่อนเหนียว
อีกชนิดหนึ่งคือ ปอกกระเจาฝักกลม มีเส้นใยสีขาว
เหนียวน้อยกว่าเส้นใยของปอกระเจาฝักยาว
ปอกระเจาเป็นพืชอยู่ในตระกูลทิเลียซีอี สกุลคอร์โครุส
เส้นใยของปอกระเจาทั้งสองชนิดนี้ มีคุณภาพดีกว่าปอแก้ว
|

ปอกระเจาฝักยาว |
คนไทยรู้จักใช้ปอให้เป็นประโชน์มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย
ปอที่ใช้เป็นปอพื้นเมือง นำมาลอกเปลือกต้นปอออกจากแกนต้น เรียกว่า "ปอกลีบ"
แล้วจึงนำมาฟั่นเป็นเชือก เรียกว่า "ปอฟั่น"
ในสมัยนั้นปอฟั่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทย
ใช้ผูกมัดสิ่งของ และสัตว์เลี้ยง
|